ส่วนประกอบของโปรแกรม Photoshop Cs5

Application Bar (แอพพลิเคชั่นบาร์) จะเป็นแถบเครื่องมือที่เก็บปุ่มคำสั่งที่ใช้งานบ่อย ๆ เอาไว้ เช่น เปิดโปรแกรม Bridge หมุนพื้นที่ทำงาน ย่อ-ขยายภาพ, จัดเรียงวินโดว์ภาพ และจัดองค์ประกอบของเครื่องมือตามพื้นที่ใช้งาน (Workspace)
Menu Bar (เมนูบาร์) ประกอบด้วยกลุ่มคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้จัดการกับไฟล์, ทำงานกับรูปภาพ และใช้การปรับแต่งการทำงานของโปรแกรม โดยแบ่งเมนูตามลักษณะงาน นอกจากนี้บางเมนูหลัก จะมีเมนูย่อยซ้อนอยู่ โดยสังเกตจากเครื่องหมาย
ซึ่งคุณต้องเปิดเข้าไปเพื่อเลือกคำสั่งภายในอีกที

Tool Panel (ทูลพาเนล) หรือ กล่องเครื่องมือ จะประกอบไปด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการวาด ตกแต่ง และแก้ไขภาพ เครื่องมือเหล่านี้มีจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีการรวมเครื่องมือที่ทำหน้าที่คล้าย ๆ กันไว้ในปุ่มเดียวกัน โดยจะมีลักษณะรูปสามเหลี่ยมอยู่บริเวณมุมด้านล่างดังภาพ
เพื่อบอกให้รู้ว่าในปุ่มนี้ยังมีเครื่องมืออื่นอยู่ด้วย

Option Bar (ออปชั่นบาร์) เป็นส่วนที่ใช้ปรับแต่งค่าการทำงานของเครื่องมือต่าง ๆ โดยรายละเอียดในออปชั่นบาร์จะเปลี่ยนไปตามเครื่องมือที่เราเลือกจากทูลบ็อกซ์ในขณะนั้น เช่น เมื่อเราเลือกเครื่องมือ Brush (พู่กัน) บนออปชั่นบาร์จะปรากฏออปชั่นที่ใช้ในการกำหนดขนาด และลักษณะหัวแปรง, โหมดในการระบายความโปร่งใสของสี และอัตราการไหลของสี เป็นต้น
Panel (พาเนล) เป็นวินโดว์ย่อย ๆ ที่ใช้เลือกรายละเอียด หรือคำสั่งควบคุมการทำงานต่าง ๆ ของโปรแกรม ใน Photoshop มีพาเนลอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น พาเนล Color ใช้สำหรับเลือกสี, พาเนล Layers ใช้สำหรับจัดการกับเลเยอร์ และพาเนล Info ใช้แสดงค่าสีตรงตำแหน่งที่ชี้เมาส์ รวมถึงขนาด/ตำแหน่งของพื้นที่ที่เลือกไว้
การขยาย และลดขนาด SELECTION ใน PHOTOSHOP CS5
วิธีขยาย SELECTION
สำหรับการขยาย SELECTION คือการเพิ่มพื้นที่ที่ได้เลือกไว้แล้วให้ขยายออกไปโดยรอบ ตามจำนวนพิกเซลที่ระบุ จากคำสั่ง SELECTION > MODIFY > EXPAND จากนั้นระบุค่าลงไปว่าจะให้ขยายออกไปกี่พิกเซล ดังขั้นตอนต่อไปนี้
1. สร้าง Selection

2. เลือกคำสั่ง Select > Modify > Expand และระบุค่าพิกเซลที่จะขยายในช่อง Expand By



วิธีลดขนาด Selection
สำหรับการย่อ Selection คือการลดพื้นที่ที่เลือกไว้ลงไปโดยรอบตามจำนวนพิกเซลที่ระบุ ทำได้โดยเลือกคำสั่ง Select > Modify > Contract แล้วระบุจำนวนตัวเลขพิกเซลที่ต้องการย่อลงไป ผลที่ได้คือ พื้นที่ที่เลือกไว้ถูกย่อเข้ามา ตามค่าในช่อง Contract By
1. สร้าง Selection
2. เลือกคำสั่ง Select > Modify > Contract และระบุค่าพิกเซลที่จะย่อในช่อง Contract By



การปรับรูปทรง SELECTION ใน PHOTOSHOP CS5
การสร้าง Selection ที่ผ่านมา เราสามารถทำได้หลากหลายรูปทรง แต่บางทีก็ยังไม่ตรงกับความต้องการ เช่น อยากให้หมุนไปทางซ้ายนิด ทางขวาหน่อย หรือปรับย่อ-ขยายสัดส่วน โดยไม่ต้องใช้คำสั่ง ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้เครื่องมือ Transform Selection ได้ โดยไม่มีผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อพิกเซลของภาพแต่อย่างใด
การปรับขนาด ย้าย หมุน และบิด Selection
เราสามารถปรับขนาด ย้าย หมุน และบิด Selection ที่สร้างไว้ เพื่อให้เข้ากับพื้นที่ที่ต้องการเลือกได้ โดยใช้เครื่องมือ Transform Selection ตามขั้นตอนดังนี้
1. สร้าง Selection เริ่มต้น

2. เลือกคำสั่ง Select > Transform Selection

3. ปรับขนาด ย้าย หมุน หรือบิด Selection โดยใช้ Bounding Box

หรือ 3. โดยการปรับค่าบนออปชั่นบาร์
4. คลิกหรือกดคีย์ Enter บนคีย์บอร์ด เพื่อจบการทำงาน

ตัดเฉพาะส่วนด้วยเครื่องมือ Crop
ถ้าหากรูปภาพมีขนาดใหญ่เกินไป หรือเราต้องการนำภาพมาใช้เพียงบางส่วน ก็เลือกตัดขอบภาพส่วนที่ไม่ต้องการใช้ทิ้งได้ ด้วยเครื่องมือ Crop ดังภาพ
1. คลิกปุ่ม Crop
2. เลือกพื้นที่ที่ต้องการ

3. กดปุ่ม Enter บนคีย์บอร์ด เพื่อยืนยันการตัดภาพ หรือกดคีย์ Esc เพื่อยกเลิกการเลือก

ตัดภาพแบบ Perspective
บางครั้งเราอาจมีภาพที่อยู่ในมุมมองแบบเปอร์สเปคทีฟ หรือภาพที่ต้องเลือกแบบมีเหลี่ยมมีมุม ก็สามารถใช้ตัวเลือกบนออปชั่นบาร์ของเครื่องมือ Crop ได้โดยเลือก Perspective ก่อน แล้วไปคลิกปรับพื้นที่ภาพที่ต้องการจะตัดได้
ดังตัวอย่างเป็นภาพที่มีมุมมองแบบเปอร์สเปคทีฟ เมื่อเลือกขอบเขตแล้วกดคีย์ Enter ก็จะตัดภาพพร้อมกับปรับมุมมองภาพให้อยู่ในแนวตรงโดยอัตโนมัติ

ตัด และซ่อนพื้นที่
สำหรับคุณสมบัติใหม่ใน Photoshop Cs4 และ Cs5 ยังมีตัวเลือก Hide มาช่วยให้เราตัดภาพแบบซ่อนพื้นที่ตัดเอาไว้ (สถานะปกติจะเลือกเป็น Delete ไว้ คือลบทิ้ง) หากต้องการใช้งานใหม่สามารถแสดงกลับมาเต็มภาพเหมือนเดิม ได้เหมือนกันการบังภาพเอาไว้ก่อน ซึ่งภาพนั้นต้องอยู่ในเลเยอร์ปกติ ซึ่งต้องไม่ช่เลเยอร์ชั้น Background ดังภาพ
- หลังจากเลือก Hide แล้ว เราสามารถเลื่อนแสดงภาพที่ถูกซ่อนได้


การเลือกสีจากภาพด้วย EYEDROPPER ใน PHOTOSHOP
การเลือกสีสำหรับใช้งานอีกวิธีหนึ่งคือ การเลือกสีจากรูปภาพที่มีอยู่แล้ว โดยใช้เครื่องมือ EYEDROPPER คลิกเลือกสีที่ต้องการ ดังภาพ
วิธีการเลือกสีจากภาพด้วย EYEDROPPER
1. คลิก Eyedropper
2. เลือกค่าสีเฉลี่ยสำหรับพื้นที่

3. คลิกเลือกสี

Tip: ขณะที่ใช้เครื่องมือระบายสีต่าง ๆ เราสามารถสลับไปใช้เครื่องมือ Eyedropper ได้ชั่วคราวโดยกดคีย์ Alt ที่คีย์บอร์ดค้างไว้ แล้วคลิกเลือกสี เมื่อปล่อยปุ่ม Alt เมาส์ก็จะเปลี่ยนกลับไปเป็นเครื่องมือเดิม
วิธีการเปลี่ยนภาพสีเป็นภาพขาวดำด้วยคำสั่ง DESATURATE ใน PHOTOSHOP
การเปลี่ยนภาพสีเป็นภาพขาวดำ Desaturate หรือการกดคีย์ Shift+Ctrl+U นั้นมีผลให้ภาพแปลงเป็นสี ขาวดำ ทันทีโดยไม่ต้องปรับแต่งอะไรเพิ่ม ซึ่งจะปรับภาพให้เหลือเพียงเฉดสีเทาคล้ายกับการเปลี่ยนภาพเป็นโหมดสี Grayscale แต่ผลของคำสั่งนี้ภาพจะยังคงอยู่ในโหมด RGB เช่นเดิม ซึ่งคล้ายกับคำสั่ง Black & White ที่ผ่านมา แต่สามารถลดความเข้ม-จางของสีได้ดีกว่า
วิธีเปลี่ยนภาพสีเป็นภาพขาวดำด้วยคำสั่ง Desaturate
1. เลือกคำสั่ง Image > Adjustments > Desaturate หรือกดคีย์ Shift + Ctrl + U บนคีย์บอร์ด

2. สังเกตภาพจะมีการเปลี่ยนแปลง

วิธีปรับสีภาพด้วย VIBRANCE ใน PHOTOSHOP
Vibrance เป็นคำสั่งใหม่ใน Photoshop Cs5 ที่จะช่วยปรับสีภาพให้มีชีวิตชีวามากขึ้น โดยเพิ่มความอิ่มตัวของสีในภาพ ซี่งมีอยู่ 2 แบบ คือ Vibrance คือการเพิ่มความอิ่มตัว หรือความสดของสีที่เป็นสีหลักในภาพ และ Saturation คือการเพิ่มความสดให้กับทุกสีในภาพโดยรวม
วิธีปรับสีภาพด้วย Vibrance
1. คลิกที่ปุ่ม Vibrance ดังภาพ หรือเลือกคำสั่ง Image > Adjustments > Vibrance

2. แล้วลองปรับแต่งค่าสี

แปลงภาพเป็นสี SEPIA ใน PHOTOSHOP
ภาพแบบโทนสีเดียวคือ การปรับลดสีให้เหลือเพียงสีเดียว ซึ่งนิยมนำมาใช้กับรูปภาพโดยทำให้เป็นภาพเก่าหรือที่เรียกกันว่า ภาพซีเปีย โดยมีขั้นตอนดังนี้
วิธีแปลงภาพเป็นสีซีเปีย
1. คลิกปุ่ม Hue/Saturation บนพาเนล Adjustments หรือคำสั่ง Image > Adjustments > Hue/Saturation

2. คลิกเลือก sepia

วิธีเปลี่ยนภาพเป็นสีตรงข้ามด้วยคำสั่ง INVERT ใน PHOTOSHOP
Invert เป็นการเปลี่ยนสีต่างๆ ในภาพให้เป็นสีตรงข้าม เหมือนกับภาพที่ปรากฏบนฟิล์มถ่ายรูปแบบเนกาทีฟ (Negative) ทำได้ดังนี้
วิธีเปลี่ยนภาพเป็นสีตรงข้ามด้วยคำสั่ง Invert
1. คลิกปุ่ม Invert บนพาเนล Adjustments หรือคลิกเลือกคำสั่ง Image > Adjustments > Invert

2. ได้ผลลัพธ์ดังภาพ

การใช้ไม้บรรทัด (RULER) ใน PHOTOSHOP CS5
ไม้บรรทัด คือแถบวัดซึ่งจะปรากฏอยู่ด้านซ้าย และด้านบนของวินโดว์รูปภาพ แต่ละวินโดว์ (เมื่อถูกเรียกใช้) ประโยชน์ของไม้บรรทัดคือ ช่วยให้กำหนดระยะและตำแหน่งของการวาด การวางออบเจ็ค รวมทั้งให้ทำงานต่าง ๆ กับรูปภาพได้ง่ายขึ้น ซึ่งเลือกหน่วยวัดบนไม้บรรทัดได้ตามต้องการ ดังนี้
- เปิด/ปิดไม้บรรทัด ให้เลือกคำสั่ง View > Rulers (คีย์ลัด Ctrl+R)

- ดูตำแหน่งเมาส์ ขณะที่เลือกเมาส์ไปบนภาพ คุณจะเห็นเส้นประที่แสดงตำแหน่งของเมาส์ปรากฏบนไม้บรรทัดทั้งแนวตั้ง และแนวนอน
- ตั้งตำแหน่งศูนย์ ตามปกติตำแหน่ง 0, 0 ของไม้บรรทัดจะอยู่ที่มุมซ้ายบนสุดของภาพ ถ้าต้องการย้ายไปที่อื่น ทำได้โดยคลิกลากรูป ดังภาพ ไปยังตำแหน่งใหม่
- ตั้งตำแหน่งศูนย์กลับสู่ค่าเริ่มต้น ให้ดับเบิลคลิกที่รูป ดังภาพ

- เปลี่ยนหน่วยวัด ให้คลิกขวาที่ไม้บรรทัด แล้วเลือกหน่วยจากเมนูลัด (แนะนำให้เลือกหน่วยเป็น Pixels) โดยแต่ละหน่วยวัดมีความหมาย ดังนี้
> Pixels (พิกเซล) จุดสีที่เล็กที่สุดของภาพ
> Inches (นิ้ว)
> Centimeters (เซนติเมตร)
> Millimeters (มิลลิเมตร)
> Point (พอยต์) เท่ากับ 1/72 นิ้ว
> Picas (ไพก้า) เท่ากับ 12 พอยต์
ปรับความคมชัด UNSHARP MASK ใน PHOTOSHOP
Unsharp Mask เป็นคำสั่งที่ใช้ในการปรับความคมชัดให้กับภาพอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. เลือกคำสั่ง Filter > Sharpen > Unsharp Mask

2. ปรับค่าความคมชัด
- Amount: เป็นปริมาณความคมชัด ยิ่งใช้ค่าสูง ขอบของวัตถุในภาพจะดูคมชัดมากขึ้น
- Radius: ความกว้างของขอบที่ถูกปรับให้คมชัด
- Threshold: ความแตกต่างของสี และแสงเงาของบริเวณต่าง ๆ ในภาพ ซึ่งถือว่าเป็นแนวขอบที่จะต้องถูกปรับ โดยทั่วไปควรใช้ประมาณ 2-20 พิกเซล

3. เมื่อปรับได้ตามที่ต้องการแล้ว คลิกปุ่ม OK


ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หวัดดีชาวโลก